top of page
Search

พฤติกรรมร้ายๆ มีที่มาที่ไป รู้จักไว้จึงเข้าใจคนใกล้ชิดและตัวเอง

  • happyeverysingleday
  • Jul 7, 2020
  • 2 min read

Updated: Jul 2, 2021

เคยไหมที่อยู่ ๆ ก็โดนด่าท่อ ต่อว่า อย่างไม่รู้สาเหตุ เจอะเจอคนทำพฤติกรรมร้าย ๆ แย่ ๆ ใส่ จากคนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งจากคนใกล้ตัวในครอบครัว จนต้องสงสัยว่า เราไปทำความผิดอะไรมากมายให้เรารู้สึกไม่ดีขนาดนั้นขึ้นมา เชื่อว่าประสบการณ์ประมาณนี้น่าจะเกิดขึ้นกับหลาย ๆ คน ในการใช้ชีวิตประจำวันทุกวันที่ผ่านมา ซึ่งคงปฎิเสธไม่ได้เลยว่ามันส่งผลต่อความรู้สึกของคนเรามากมายขนาดไหน


เพื่อให้รู้จักและเข้าใจในที่มาที่มาไป ของ พฤติกรรมที่ไม่น่ารักเหล่านี้ จึงอยากแนะนำให้ทุกคนได้เรียนรู้แนวคิดจิตวิทยาที่เกี่ยวกับ ทฤษฎีเกราะป้องกันตนเพื่อความอยู่รอด (Survival Coping Stances)

เข้าใจความโสดได้มากขึ้น ผ่านการฟัง "อยู่อย่างโสดโสด สักครั้งในชีวิต" คลิกอ่านที่ Mebmarket ,Ookbee , Naiiinpann คะ
ภาวะการปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตรอด (Coping Stance) เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่แสดงออกมา ซึ่งอาจไม่ใช่ความรู้สึกที่ต้องการลึกๆของตัวตนคนเราที่แท้จริง
เมื่อเจอกับปัญหา หรือ ความเครียด มนุษย์จะมี กลไกป้องกันตัวเอง หรือ รูปแบบพฤติกรรมที่ปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตรอด อยู่ 5 พฤติกรรมที่จะแสดงออก

เวอร์จิเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir) ได้รับยกย่องว่าเป็นนักบำบัดที่มีชื่อเสียงจัดอยู่อับดับ 5 ของโลก” ซึ่งนักจิตวิทยาที่ติดอันดับ “The Top 10” ได้นำเสนอแนวคิดที่น่าสนใจ เช่น ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Virginia Satir Change Process Model), ทฤษฎีเกราะป้องกันตนเพื่อความอยู่รอด (Survival Coping Stances), แบบจำลองภูเขาน้ำแข็ง (The Iceberg Model)


การมองบุคคลเพื่อที่จะเข้าใจบุคคลนั้น Satir Model เปรียบมนุษย์เสมือนภูเขาน้ำแข็ง(Iceberg)

แนวคิดซาเทียร์นั้น กล่าวว่า พฤติกรรมที่แสดงออก เป็นเพียง ยอดของภูเขาน้ำแข็ง ที่เห็นได้ชัดโดยเป็นสิ่งที่โผล่พ้นน้ำ เป็น ความสัมพันธ์กับโลก แต่ก็ยังมี สิ่งที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งคือ ความสัมพันธ์ของโลกภายในตัวเรา โดยแบ่งทั้งหมดเป็น 7 ระดับ คือ


1. Behaviour คือ พฤติกรรม การกระทำ คำพูด หรือเรื่องราวที่แสดงออกให้เห็นได้ซึ่งหน้า ซาเทียร์เปรียบเหมือน สิ่งที่โผล่พ้นน้ำ เป็นสิ่งที่ผู้คนเห็น เป็นพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยมีภาวะการปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตรอด (Coping Stance) ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่แสดงออกมา

2. Feeling คือ ความรู้สึกต่อสถานการณ์ตรงหน้า เช่น สุข เศร้า เหงา หดหู่ สงสาร

3. Feeling about Feeling คือ ความรู้สึกต่อความรู้สึก เป็นความรู้สึกในระดับที่สอง ว่าเรารู้สึกต่อความรู้สึกของเราอย่างไร เช่น เรารู้สึกสุขเมื่อไม่ทำงาน นอนดูซีรีส์อยู่เฉยๆ แต่เรารู้สึกไม่พอใจที่ตัวเองมีความสุข กังวลว่าความสุขที่เกิดขึ้นจากการดูซีรีส์แทนที่จะไปทำงาน เป็นเรื่องไม่สมควร

4. Perceptional คือ การรับรู้ที่ไม่ใช่แค่รู้สึก แต่ผ่านการตีความ มีความคิด สมมติฐาน ความเชื่อ ว่าตัวเองทำสิ่งนั้นเพราะอะไร ทำไปด้วยเหตุผลอะไร และเป็นทัศนคติหรือตีความผ่านประสบการณ์ และ คุณค่าที่เราประเมิน


5. Expectation คือ ความคาดหวัง เป็นได้ทั้งความคาดหวังว่าอยากให้ตัวเองรู้สึกหรือคิดอะไร, คาดหวังว่าคนอื่นจะคิดอย่างไรกับเรา และ ความคาดหวังของผู้อื่นต่อตัวเรา เช่น คาดหวังว่าตัวเองจะต้องเข้มแข็งกว่านี้ และคาดหวังให้คนอื่นเชื่อใจ อยากให้คนอื่นเข้าใจว่าตัวเองคิดอะไรอยู่

6. Yearning คือ ความปรารถนา ความต้องการแท้จริง หรือ สิ่งที่เขาถวิลหาอันเป็นสากล (Universal need) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุก ๆ คน ต้องการ เช่น ปรารถนาจะถูกรัก ได้รับการยอมรับ ความรู้สึกผูกพันกับผู้อื่น (Belonging) ความคิดสร้างสรรค์ ความเชื่อมโยงกัน(Connection) ความอิสระเสรี (freedom) ฯลฯ


7. Self คือ ตัวตนลึก ๆ หรือแก่นแกนของตัวเอง ซึ่งเป็นจิตวิญญาณ พลังชีวิต สาระหรือแก่น(core) ความ มีอยู่และสิ่งที่ตัวเรา “เป็น” (being)

โดยที่การเกิดขึ้นของแต่ละพฤติกรรมในช่วงเวลาที่มนุษย์เผชิญกับปัญหา หรือ ความเครียดต่างๆ จะมีกลไกป้องกันตัวเป็นของแต่ละคนเอง ซึ่งมักมีที่มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กหรือที่ได้รับผ่านความสัมพันธ์จากคนในครอบครัว หรือผ่านจากประสบการณ์ของคนในครอบครัวส่งต่อกันมา


Survival coping stances : กลไกป้องกันตัวเอง หรือ รูปแบบพฤติกรรมที่ปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตรอดเมื่อเจอกับปัญหา หรือ ความเครียด โดยอธิบายผ่านความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวเอง (self), คนอื่น(other) และ บริบท (context) แบ่งได้เป็น 5 พฤติกรรมใหญ่

1. Blaming : กลไก ‘ตำหนิ’ สนใจบริบทและตัวเอง ไม่สนใจคนอื่น


คนกลุ่มนี้สนใจแต่ความคาดหวังที่ตนเองมีต่อผู้อื่น โดยไม่ใส่ใจความต้องการหรือความคาดหวังของผู้อื่น จะตำหนิไว้ก่อน ใช้การตำหนิปิดบังความกลัว ยึดว่าสิ่งที่ตัวเองเชื่อถือคือสิ่งถูก เป็นผู้พิทักษ์ความถูกต้อง หลายครั้งนำไปสู่ความหวาดระแวงผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ผู้ที่มักป้องกันตัวเองด้วยการตำหนิ ภายในใจเต็มไปด้วยความโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ดี คาดหวังในผู้อื่นสูง จะสนใจเนื้อหาและสิ่งที่ตัวเองเชื่อ ไม่ใช่สิ่งที่คนอื่นเชื่อ มักมีปัญหาทางสุขภาพเกี่ยวกับการหายใจ



2. Placating : กลไก ‘เอาใจ’ สนใจบริบทและคนอื่น ไม่สนใจตัวเอง


คนกลุ่มนี้มักทำให้ผู้อื่นพอใจ จะสนใจแต่ว่าผู้อื่นคาดหวังกับตนเองอย่างไร โดยไม่ใส่ใจความต้องการหรือความคาดหวังของตนเอง เป็น Mr. Yes man มักยอมทำตามสิ่งที่ผู้อื่นร้องขอโดยไม่สนใจความรู้สึกตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะ การปฏิเสธ หรือความรู้สึกบาดหมางระหว่างกัน เคารพคนอื่น แต่ไม่เคารพตัวเอง คนที่มีกลไก ‘เอาใจ’ มักมีปัญหาเรื่องการย่อยอาหาร ไมเกรน ท้องผูก


3. Super­reasonable : กลไก ‘มนุษย์เหตุผล’ สนใจบริบท ไม่สนใจตัวเองและคนอื่น


คนกลุ่มนี้ที่ใส่ใจความเป็นจริงทางวัตถุ ตรรกะ(logic) และ สิ่งที่เป็นนามธรรม โดยสมองของเขามีไว้ใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล โดยไม่ใส่ใจกับความรู้สึกตนเอง หรือ ผู้อื่น บางตำราเรียกว่า ‘มนุษย์คอมพิวเตอร์’ สนใจที่เนื้อหาและความถูกต้องเป็นหลัก รู้และเข้าใจหลักการอย่างถ่องแท้ ไม่ทำงานด้วยความรู้สึก คนมักจะมองคนที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ว่า เย็นชา เจ้าหลักการ ปัญหาสุขภาพมักเผชิญกับอาการเยื่อเมือกแห้ง เช่น ตาแห้ง เนื้อเยื่อในช่องปากแห้ง



4. Irrelevant : กลไก ‘เฉไฉ’ สนใจทั้งตัวเอง ผู้อื่น และบริบท


คนกลุ่มนี้เป็นผู้สนใจทั้งตัวเอง ผู้อื่น และ บริบทสิ่งที่เป็นนามธรรม อาจพบว่าเขาคือนักเอ็นเตอร์เทรน มีบุคลิกสนุกสนานเฮฮาและเข้าไปอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ทุกวง ดึงดูดความสนใจของตัวเองและคนอื่นให้หลุดออกจากความเครียดได้เก่ง บทสนทนามักเป็นเรื่องทั่วไปแต่ไม่จับยึดที่แก่นเรื่อง ไม่ใส่ใจ เรื่อยเปื่อย อยู่ในโลกของตนเอง บางครั้งดูกระวนกระวาย หรือมีปฏิกิริยาล้นเกิน เช่น มักเป่าปาก กระพริบตาถี่ ร้องเพลง หลุกหลิก หรือไม่ก็เพิกเฉยต่อสถานการณ์เคร่งเครียดไปเลย



5. Congruence : สอดคล้องกลมกลืน ไม่ต้องใช้กลไกป้องกันตัวใด ๆ เลย


เป็นภาวะที่ยอมรับ สมดุล เชื่อมโยง ยอมรับ หรือรู้สึกสงบอยู่ในภาวะนั้น ๆ คนกลุ่มนี้ เป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตดีส่งผลให้เกิดความสงบสุข ยอมรับในตนเองและผู้อื่น ให้ความรักแก่ผู้อื่น มีความสามารถในตนเองและมีการเชื่อมโยงกับพลังชีวิต (Life force)

ลองสังเกตุ และ สำรวจคนรอบข้างให้มาก จะได้เข้าใจและยอมรับได้ว่าเขามีพฤติกรรมร้าย ๆ ผ่านภาวะการเอาตัวรอดแบบไหน ในทางกลับกัน ลองสังเกต และ สำรวจตัวเองให้ดี เพื่อยอมรับ เรียนรู้ ปรับตัวเองให้สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมร้าย ๆ ให้กลายเป็นพฤติกรรมที่น่ารัก ได้มากขึ้น

เพราะการฟังคือการเยียวยารักษาใจในอีกรูปแบบหนึ่ง เพียงมีใครสักคนรับฟังอย่างเข้าใจ ไม่ตัดสินใจ แค่นี้ก็ให้ความสบายใจเกิดขึ้นได้ง่ายแล้ว

บริการมี 2 แบบ ดังนี้

1. ฟัง(Listen) : รับฟังอย่างเข้าใจ เพื่อผู้รับบริการได้สื่อสารหรือถ่ายทอดความรู้สึกสิ่งต่างๆที่คั่งค้างในใจ

2. เติบโต(Grow) : รับฟังเพื่อเติบโต เพื่อผู้รับบริการได้แสดงความรู้สึก พร้อมทั้งเรียนรู้รับคำแนะนำเพื่อพัฒนาตนเอง

บริการรับฟังใจที่นี่ต่างจากที่อื่นยังไง?

1. รับฟังอย่างเข้าใจความรู้สึก

2. รับฟังอย่างไม่ตัดสิน

3. รับฟังอย่างไม่ด่วนปลอบใจ

4. รับฟังและปรึกษากันเพื่อปรับใช้ในชีวิตจริงให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

สามารถดูรายละเอียดได้ด้านล่างนี้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก HappyEverySingleDay น๊าคร๊า

อ้างอิง : Thepotential,Suicide

ภาพ : Unsplash

 
 
 

Comments


Join our mailing list. Never miss an update

Thanks for submitting!

จงภูมิใจในการใช้ชีวิตคนเดียวแบบที่คุณมี กับสิ่งที่คุณเป็น แล้วนั่นจะทำให้คุณพบความสุขของชีวิตคนโสดในทุกวันที่อยู่คนเดียว

HappyEverySingleDay

  • White Facebook Icon
  • White Instagram Icon
  • White Twitter Icon
  • White YouTube Icon

© 2023 by Fashion Diva. Proudly created with Wix.com

bottom of page